เจาะลึกโลกดาวเทียม

เจาะลึกโลกดาวเทียม

 
ประเภทของดาวเทียมที่อยู่ในอวกาศ
 1.ดาวเทียมสื่อสาร (communication satellite )
      เป็นดาวเทียมที่มีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารและโทรคมนาคม จะถูกส่งไปในช่วงของอวกาศเข้าสู่วงโคจรโดยมีความห่างจากพื้นโลกโดยประมาณ 35.786 กิโลเมตร ซึ่งความสูงในระดับนี้จะเป็นผลทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดาวเทียม ในขณะที่โลกหมุนก็จะส่งแรงเหวี่ยง ทำให้ดาวเทียมเกิดการโคจรรอบโลกตามการหมุนของโลก
      องค์ประกอบสำคัญของดาวเทียม ประกอบด้วย สายอากาศสื่อสาร เครื่องรับ-ส่งวิทยุ ทำหน้าที่ประมวลสัญญาณที่เข้า-ออก สายอากาศสื่อสารก่อนที่จะส่งต่อไปยังพื้นดิน แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้ กรณีมีปัญหาไม่ได้รับแสงอาทิตย์ชั่วคราว เช่น ในช่วงเกิดสุริยุปราคา ดวงอาทิตย์ถูกบดบัง กำลังไฟฟ้าสูงสุดอาจถูกใช้ถึง 300-600 วัตต์ เครื่องวัดแสง ทำหน้าที่ปรับตำแหน่งดาวเทียมกับโลกและดวงอาทิตย์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอ จรวดขนาดเล็กทำหน้าที่รักษาการหมุน และการหันตัวของดาวเทียม
-สถานีควบคุมดาวเทียมให้อยู่ในวงโคจรที่ถูกต้อง
-สถานีภาคพื้นดินชนิดต่างๆ
-การเชื่อมโยงระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับผู้ใช้บริการ
-การเชื่อมต่อกับเครือข่ายการสื่อสารภาคพื้นดิน
การสื่อสารดาวเทียมที่ควรทราบ
พ.ศ. 2500 รัสเซียทดลองระบบวิทยุโดยผ่านดาวเทียม สปุตนิก 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่มนุษย์ส่งขึ้นไปเคลื่อนรอบโลก
พ.ศ. 2505 สหรัฐอเมริการ่วมกับอังกฤษ ฝรั่งเศส สื่อสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยดาวเทียมเทลสตาร์ 1
พ.ศ. 2505 รัสเซียใช้ดาวเทียมในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ติดต่อผ่านดาวเทียมวอลสตอก 3,4
พ.ศ. 2507 สหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ในการแข่งขันโอลิมปิกผ่านดาวเทียม ซินคอม 3
พ.ศ. 2508 องค์การอินเทลแสท ( Intelsat ) ส่งดาวเทียมโทรคมนาคมดวงแรกชื่อว่าเออร์ลี่ เบอร์ด หรืออินเทลแสท 1 เหนือมหาสมุทร แอตแลนติก เพื่อติดต่อระหว่างยุโรบและสหรัฐอเมริกา ส่งโทรศัพท์หรือรายการโทรทัศน์ได้ 240 คู่สาย
พ.ศ. 2509 ดาวเทียมเทลแสท 2 สู่วงโคจร ประเทศไทยเปิดการติดต่อสื่อวารผ่านดาวเทียมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกกับสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2510
พ.ศ. 2511 ดาวเทียมอินเทลแสท 3 ขึ้นสู่วงโคจร ประเทศไทยเปิดการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2513


2.ดาวเทียมพยากรณือากาศหรือดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
      ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญสำหรับกิจการอุตุนิยมวิทยา สามารถใช้สังเกตพื้นที่บนพื้นผิวโลกได้หลายบริเวณ รวมทั้งได้รับรู้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากทั่วทั้งโลก ดังนั้น ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนักพยากรณ์อากาศ ทำให้สามารถติดตามและ วิเคราะห์ลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เครื่องมืออื่น ๆ มีข้อจำกัด หรือในมหาสมุทร เช่น ลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน เป็นต้น ดังนั้นภาพจากดาวเทียมจึงเป็นเครื่องมือสำหรับติดตามลักษณะอากาศร้ายเพื่อการเตือนภัยได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง นักอุตุนิยมวิทยาสามารถรับรู้ข้อมูลสภาพอากาศในช่วง 50 กิโลเมตร หรือมากกว่าทั่วทั้งโลกได้จากภาพจากดาวเทียม สามารถมองเห็นสภาพอากาศในมุมมองที่สูง และลำดับการเคลื่อนตัวของพายุบนจอคอมพิวเตอร์ได้ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรกเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ TIROS 1 (Television and Infrared Observation Satellite) ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ 2503 
       วัตถุประสงค์ของดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาที่กำหนดโดย National Operational Meteorological Satellite (NOMSS) คือ
        -   เพื่อถ่ายภาพชั้นบรรยากาศโลกประจำวัน

        -   เพื่อได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลก และเพื่อเก็บและถ่ายทอดข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน
        -   เพื่อทำการหยั่งตรวจอากาศโลกประจำวัน
      ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาประเภทวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Meteorological Satellite) ได้แก่. ดาวเทียม GOES-W ดาวเทียม GOES-E ดาวเทียม METEOSAT ดาวเทียม GMS-5 ดาวเทียม INSAT . เป็นต้น


3.ดาวเทียมทางการทหาร
       การใช้งานดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภารกิจและขีดความสามารถของดาวเทียมแต่ละดวง ทั้งนี้ในปัจจุบันการจัดแบ่งประเภทว่าดาวเทียมดวงใดเป็นดาวเทียมทางทหารอาจ ไม่มีความชัดเจนมากนักเนื่องจากได้มีการนำดาวเทียมของพลเรือนหรือดาวเทียม พาณิชย์มาใช้เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร เช่นการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทางธรณีวิทยา (GIS) เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการข่าว นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมทางทหารบางประเภทที่มีการนำมาใช้งานสำหรับพลเรือนทั่วไป เช่นการใช้ข้อมูลตำบลที่จากดาวเทียม GPS เป็นต้น โดยสรุปแล้วสามารถแบ่งประเภทดาวเทียมที่มีการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารได้ดังนี้ 
ดาวเทียมทางทหารโดยเฉพาะ : ดาวเทียมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานทางการทหารเท่านั้น โดยมากเป็นดาวเทียมที่ใช้งานด้านการข่าว และดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมทางทหารที่มีการใช้งานร่วมกับพลเรือน : ดาวเทียมทางทหารที่มีการใช้งานสำหรับพลเรือนทั่วไปด้วย โดยมากเป็นดาวเทียมที่ใช้งานเพื่อกำหนดตำลบที่ และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา


ดาวเทียมพลเรือนที่มีการใช้งานร่วมกับทหาร : ดาวเทียมพลเรือนที่มีข้อมูลหรือช่องสัญญาณที่สนับสนุนภารกิจทางทหารได้ โดยมากเป็นดาวเทียมสำรวจ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และดาวเทียมสื่อสาร
การใช้งานดาวเทียมทางทหารในช่วงแรกเป็นการใช้งานเพื่อถ่ายภาพทางอากาศในภารกิจด้านการข่าว โดยดาวเทียมจะถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มและมีระบบการส่งฟิล์มกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเพื่อการเก็บกู้ต่อไป ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นการใช้ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอลและการส่งภาพกลับทางช่องทางการสื่อสารข้อมูล จนในปัจจุบันได้มีการใช้ภาพถ่ายจากเรดาร์ (Synthetic Aperture Radar) ที่สามารถถ่ายภาพทะลุทะลวงผ่านเมฆและฝนได้ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาดาวเทียมทางทหารในด้านอื่น เช่นดาวเทียมกำหนดตำบลที่ ดาวเทียมสื่อสาร และดาวเทียมสำหรับรวมรวมข้อมูลข่าวกรองทางสัญญาณ (SIGINT) เป็นต้น


4.ดาวเทียมสำรวจ
     การสำรวจทรัพยากรโลกด้วยดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ได้วิวัฒนาการจากการได้รับภาพถ่ายโลก ภาพแรกจากการส่งสัญญาณภาพของดาวเทียม Explorer VI ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2502 ตั้งแต่นั้นมา การสำรวจโลกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม ได้มีการพัฒนาเป็นลำดับทั้งระบบบันทึกข้อมูล และอุปการณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างมากมาย วิวัฒนาการของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สามารถจำแนกระดับของวิวัฒนาการได้ 2 ระดับ คือ
   1. ระดับวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
   2. ระดับปฏิบัติงาน (Operational)
      ในระยะแรกดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปมีอายุปฏิบัติงานช่วงสั้น ต่อมาเป็นระบบอัตโนมัติเพื่อใช้งานในระดับปฏิบัติงาน รวมถึงระบบที่มีมนุษย์อวกาศควบคุมจนถึงปัจจุบัน ดาวเทียมจำนวนมากได้ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เพื่อประโยชน์ในด้านการสำรวจทรัพยากร โดยมีดาวเทียม LANDSAT เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรก ที่ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อ พ.ศ. 2515
      วิธีการทำงาน การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล Remote Sensing
         หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ 
      วิถีการโคจร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun - Synchronous) เป็นวงโคจรในแนวเหนือ - ใต้ และผ่านแนวละติจูดหนึ่งๆ ที่เวลาท้องถิ่นเดียวกัน


5.ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์
      ดาวเทียมวิทยาศาสตร์มีหน้าที่สำรวจโลก หรือระบบสุริยะ หรือสำรวจอวกาศในห้วงเลึกมากออกไป
ดาวเทียมประเภทนี้เป็นสถานสังเกตการณ์เหนือชั้นบรรยากาศซึ่งเต็มไปด้วยเมฆและฝุ่นที่จะบดบัง
สังเกตการณ์จากพื้นโลกและทำให้กล้องโทรทรรศน์บนโลกไม่อาจเห็นวัตถุในอวกาศได้ชัดเจนนอก
จากนี้ชั้นบรรยากาศยังบดบังแสงจากวัตถุท้องฟ้าทำให้ปรากฏมืดมิดลงจนเห็นได้ยากดังนั้นดาวเทียม
ซึ่งขึ้นไปอยู่เหนือชั้นบรรยากาศ  จึงสามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นและส่งภาพนั้นลงมาให้เราดูได้ดาว
และกาแลกซี่ส่งรังสีออกมาหลายชนิด โดยเฉพาะเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ เช่น การระเบิดของดาวจะ
ส่งรังสีหลากหลายมาก อย่างไรก็ตามชั้นบรรยากาศของโลกจะกั้นรังสีส่วนใหญ่ไม่ให้ตกถึงพื้นดิน
รังสีเหล่านี้จึงต้องตรวจจับและวัดโดยเครื่องมือดาวเทียม หรือสถานีอวกาศ 
       ดาวเทียมดวงแรกทางด้านนี้ก็คือ ดาวเทียมสปุกนิค (Spuknik) ซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อใช้ในการวัดความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลก และเป็นการทดสอบการส่งสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ถัดจากนั้นสหรัฐฯ ก็ได้ส่งดาวเทียมแวนการ์ด 1 (VanGuard-1) ขึ้นไป และข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากดาวเทียมแวนการ์ดนั้น ได้บอกลักษณะของโลกเราว่า มีรูปร่างคล้ายกับลูกแพร์ ในปัจจุบันดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันโดยกันทั่วไป คือ กล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ล (Hubble) มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ทำหน้าที่เป็นกล้องดูดาวลอยฟ้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.2 เมตร ยาว 13.1 เมตร และหนักถึง 11 ตัน ผลจากการส่งกล้องโทรทัศน์อวกาศฮับเบิ้ล (Hubble) ขึ้นไป ทำให้มนุษย์ได้ค้นพบข้อมูลต่างๆ ทางด้านดาราศาสตร์อย่างมากมาย รวมถึงกำเนิดของสรรพสิ่งต่างๆ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในห้วงอวกาศ

 ความสำคัญของดาวเทียม
      ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา  ใช้ประโยชน์เพื่อการพยากรณ์อากาศ การรายงานสภาวะอากาศ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ภูมิอากาศ และลมฟ้าอากาศ การพยากรณ์อากาศนานาชาติด้วยระบบดาวเทียม กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ
   1. เพื่อถ่ายภาพชั้นบรรยากาศของโลกเป็นประจำ
   2. เพื่อให้ได้ภาพต่อเนื่องของบรรยากาศโลก ตลอดจนเพื่อเก็บและถ่ายทอดข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดิน
   3. เพื่อทำการหยั่งตรวจอากาศของโลกเป็นประจำวัน
      ดาวเทียมสื่อสารเป็นสถานีรับคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีบนโลกส่งไปยังอีกสถานีหนึ่งซึ่งอยู่ไกล ซึ่งไม่สามารถจะสื่อสารถึงกันโดยตรงได้สะดวก ดาวเทียมสื่อสารมีหน้าที่รับส่งโทรทัศน์ โทรสาร ข่าวสาร ภาพโทรทัศน์และรายการวิทยุ ตลอดจนข้อมูลข่าวสารคอมพิวเตอร์ไปได้ทั่วโลก สามารถสื่อสารถึงกันได้พร้อมกันทั่วโลก ดาวเทียมอินเทลแสทดวงใหม่สามารถรับส่งวิทยุสื่อสาร วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ได้พร้อมกัน 15,000 ช่อง โดยการส่งคลื่นวิทยุจากสถานีบนโลกขึ้นไปยังอินเทลแสทดาวเทียมดวงที่หนึ่ง
      ดาวเทียมสำรวจ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การสำรวจหาพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ และป่าเสื่อมโทรม ทั่วทั้งประเทศ การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมศึกษาหาบริเวณพื้นทีที่สมควร จะทำการปลูกสร้างสวนป่าด้วยเหตุที่การใช้ที่ดินในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ โดยมนุษย์เป็นผู้กำหนดลักษณะการใช้ที่ดินว่า จะเป็นไปในลักษณะใด เช่น การทำเกษตรกรรม การก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้นการใช้ข้อมูลดาวเทียมด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ใช้ศึกษาพื้นที่เพาะปลูก ความชื้นในดิน การเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ     การประเมินความเสียหายจากศัตรูพืช เป็นต้น
         การใช้งานดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภารกิจและขีดความสามารถของดาวเทียมแต่ละดวง ทั้งนี้ในปัจจุบันการจัดแบ่งประเภทว่าดาวเทียมดวงใดเป็นดาวเทียมทางทหารอาจ ไม่มีความชัดเจนมากนักเนื่องจากได้มีการนำดาวเทียมของพลเรือนหรือดาวเทียม พาณิชย์มาใช้เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร เช่นการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทางธรณีวิทยา (GIS) เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการข่าว นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมทางทหารบางประเภทที่มีการนำมาใช้งานสำหรับพลเรือนทั่วไป เช่นการใช้ข้อมูลตำบลที่จากดาวเทียม GPS เป็นต้น
          ดาวเทียมวิทยาศาสตร์มีหน้าที่สำรวจโลก หรือระบบสุริยะ หรือสำรวจอวกาศในห้วงเลึกมากออกไป
ดาวเทียมประเภทนี้เป็นสถานสังเกตการณ์เหนือชั้นบรรยากาศซึ่งเต็มไปด้วยเมฆและฝุ่นที่จะบดบัง
สังเกตการณ์จากพื้นโลกและทำให้กล้องโทรทรรศน์บนโลกไม่อาจเห็นวัตถุในอวกาศได้ชัดเจนนอก
จากนี้ชั้นบรรยากาศยังบดบังแสงจากวัตถุท้องฟ้าทำให้ปรากฏมืดมิดลง

ผู้ผลิตคิดค้นดาวเทียม
          เฮอร์มันน์ โอเบิร์ซ เกิดที่ไซเบนเบอร์เกน ชายแดนระหว่างออสเตรียและฮังการี ซึ่งก็คือทรานซิลวาเนีย แซกซอน หรือโรมาเนียในปัจจุบัน โอเบิร์ซเป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานด้านจรวดและการบินอวกาศของโลกในยุคบุกเบิก ร่วมกับคอนสแตนติน ไซคอฟสกี (รัสเซีย) และโรเบิร์ต ก็อดดาร์ด (อเมริกัน) ถึงแม้ทั้งสามท่านนี้ ไม่เคยทำงานร่วมกันหรือรับทราบว่าแต่ละคนกำลังทำเรื่องเดียวกันอยู่ แต่ผลงานของทั้งสามก็ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันว่ามีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้จรวดในการหนีแรงโน้มถ่วงโลกเพื่อเดินทางไปในอวกาศ
      ในวัย 11 ขวบ แม่ของโอเบิร์ซได้มอบหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์โอเบิร์ซหลงใหลในเรื่องอวกาศเป็นอย่างมาก โดบเขาอ่านซ้ำหลายๆรอบ และความคิดถึงความเป็นไปได้ในการเดินทางท่องไปในอวกาศ โอเบิร์ซค้นพบว่ามีหลายการคำนวณในหนังสือดังกล่าวแสดงออกมาไม่ไช่เป็นเพียงแต่นวนิยายและไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันที่เข้าใจกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์
       ในวัย 14 ปี โอเบิร์ซได้สร้างจรวดลำแรกของเขา โดยใช้ขดสปริงและมันสามารถขึ้นสู่อากาศได้โดยแรงขับของแก๊ส (จากเชื้อเพลิงเหลว) ที่ติดตั้งไว้ที่ฐานหลังจากนั้นเขาก็ไม่มีอุปกรณ์มาทดลองแต่เขาก็ยัง มุ่งพัฒนาในส่วนของทฤษฎีจากหนังสือหลายๆเล่มโอเบิร์ซตระหนักดีว่าอัตราส่วนที่สูงขึ้นระหว่างเชื้อเพลิงจรวดน้ำหนักของจรวดจะทำให้จรวดของเขาสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น
      วัยศึกษาในปี 1912 โอเบิร์ซเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมิวนิค ในสาขาแพทยศาสตร์ แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น โอเบิร์ซต้องเข้ารับใช้ชาติและถูกส่งไปอยู่ในที่แนวรบหน้าด้านทิศตะวันออก โดยประจำการอยู่ในหน่วยแพทย์ และระหว่างที่ประจำอยู่ในหน่วยแพทย์ในสงคราม เขาบอกกับตัวเองว่า เขาไม่ต้องการเป็นแพทย์อีกต่อไปทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว โอเบิร์ซได้ทำการทดลองหลายชุดที่ต่อเนื่องกันเกี่ยวกับสภาพไร้น้ำหนัก ซึ่งต่อมาก็ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบจรวดเชื้อเพลิงเหลว และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปี 1918 โอเบิร์ซกลับไปศึกษาตามเดิม ณ มหาวิทยาลัยมิวนิค แต่ไม่ใช่สาขาแพทยศาสตร์ แต่เป็นสาขาฟิสิกส์ที่สอนโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านในปี 1928 และ 1929 โอเบิร์ซทำงานในกรุงเบอร์ลินโดยเป็นที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์แก่บริษัทสร้างภาพยนตร์ ซึ่งกำลังจะผลิตภาพยนตร์เกี่ยวกับอวกาศเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 มิถุนายน 1929 โอเบิร์ซ์ได้รับรางวัลชนะเลิศ REP-Hirsch ของสมาคมดาราศาสตร์ของฝรั่งเศส ในการสนับสนุนและสร้างแรงกระตุ้นทางด้านการบินอวกาศ โอเบิร์ซเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเขาป็นเสมือนพี่เลี้ยงและสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มดังกล่าวและต่อมาเขาได้เดินทางไปในประเทศต่างๆ  และได้สร้างจรวจอีกมากมายขึ้นมา  เพื่อใช้ประโยชน์และเพื่อใช้ในการสงคราม

 ความเป็นมาของดาวเทียม
         เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง การนำความรู้ที่ได้จากการสำรวจสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกของเรา และสำรวจโลกของเรามาใช้ประโยชน์กับมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ  ซึ่งเกี่ยวกับทางด้านดาราศาสตร์ และวิศวกรรมควบคู่กันไป หรือจะให้ความหมายอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ เทคโนโลยีอวกาศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีที่ทำขึ้นเพื่อใช้สำรวจอวกาศ โดยมรวัตถุแระสงค์ ของการใช้งานในแต่ละครั้งแตกต่างกันไป  ตามความต้องการของมนุษยชน เช่น โครงการอะพอลโล  มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจดวงจันทร์
 ความเป็นมาของดาวเทียม
        ในอดีตช่วงศตวรรษที่14-15  เป็นยุคของการสำรวจสิ่งใหม่ๆ การสำรวจใหม่ๆ ต้องเดินทางไปในที่ที่ไม่เคยมีการเดินทางไปที่นั้นๆ มาก่อน เช่น เดินทางไปทะเล การเดินทางไปในทะเลในช่วงเวลานั้น ต้องอาศัยดวงดาวในการบอกทิศทางและเวลา เพราะยังไม่มีแผนที่ นอกจากนั้นทะเลยังมี  พายุรุนแรง แต่การสำรวจเป็นจิตวิญญาณของมนุษยชาติ  และเราไม่สามารถเจริญมาถึงนี้ได้เลย ถ้าไม่สามารถผ่านการท้าทายต่างๆ ที่ทำให้เราต้องพัฒนา เทคโนโลยีและความรู้ต่างๆขึ้น

      ในปัจจุบันทะเล ไม่เป็นอะไรที่ท้าทายมาก นั้นยกเว้นการสำรวจ ใต้ท้องมหาสมุทร ความตื่นเต้นและท้าทายใหม่ๆ ในปัจจุบันในท้องฟ้า เริ่มมีการสำรวจอวกาศ เมอโซเวีย  ส่งยาน สปุตนิก  1 ขึ้นไปโคจรรอบโลก แล้วต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมขึ้นไป   ทำให้เกิดการแข่งขัน กันทางด้านอวกาศ โดยมีองค์การนาซา เป็นองค์การที่มีชื่อเสียง ของสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่ อยู่ที่กรุงวอชิงตัน  ดี ซี มีโครงการต่างๆที่สร้างขึ้น โดยเฉพาะสำหรับการสำรวจอววกาศ 




เบ็ญจวรรณ  รัตนเสถียร. 2551. โลกและอวกาศ.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว
รศ.ดร.ประสิทธิ์  ทิฆพุฒิและคณะ. การใช้ประโยชน์จากดาวเทียม. พิมพ์ครั้งงที่2. กรุงเทพฯดอกหญ้ากรุ๊ป
ประสูตร   เดชสุวรรณ. 2551. รอบรู้เรื่องดาวเทียม.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ: แซลมอนบุ๊คส์
th.wikipedia.org/wiki/ดาวเทียม
www.scimath.com

                

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ข้อสอบดาราศาสตร์

อาณาจักรสุโขทัย