ข้อสอบดาราศาสตร์

   

ข้อสอบ วิชาดาราศาสตร์ เรื่องเอกภพ


1. ใครเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดทฤษฏีการกำเนิดเอกภพ ที่เรียกว่า บิกแบง
                ก. เลอแมทร์
                ข. เฟรด ฮอยล์
                ค. เอ็ดวิน ฮับเบิล
                ง. อาร์โน เพนเซียส

2. ขณะเกิดบิกแบงมีเนื้อสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคพื้นฐาน อนุภาคพื้นฐาน ได้แก่ ข้อใด
                 ก. ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวทริโน
                 ข. ควอซาร์ อิเล็กตรอน นิวทริโน และโปรตอน
                ค. ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน
                ง. ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวเคลียส และโปรตอน

3. การเกิดกาแล็กซีต่างๆ และดาวฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อใดหลังจากบิกแบง
                ก. 100,000 ปี
                ข. 300,000 ปี
                ค. 1,000 ล้านปี
                ง. 3,000 ล้านปี

4. แก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมของเนบิวลาดั้งเดิมเกิดขึ้นจากข้อใด
                ก. บิกแบง
                ข. ซูเปอร์โนวา
                ค. ดาวนิวตรอน
                ง. การระเบิดของเนบิวลา

5. คำ ว่า 1 ปี แสง หมายถึงอะไร
                ก. หน่วยของเวลาแบบหนึ่ง
                ข. ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก
                ค. ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี
                ง. เวลาที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก

6. อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพ คือ อุณหภูมิใด
                ก. อุณหภูมิของเอกภพในอดีต
                ข. อุณหภูมิ ของเอกภพในปัจจุบัน
                ค. อุณหภูมิที่อยู่ใจกลางของเอกภพ
                ง. อุณหภูมิที่อยู่ไกลถึงอนันต์ของเอกภพ

 7. กาแล็กซีทางช้างเผือกมีรูปร่างเป็นกาแล็กซีแบบใด
                ก. รูปไข่
                ข. กังหัน
                ค. ไร้รูปทรง
                ง. กังหันมีแกน

8. เอ็ดวิน ฮับเบิล ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องในข้อใดที่ทำให้พบว่าเอกภพมีการขยายตัว
                ก. การสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ โดยใช้การวัดสเปคตรัม
                ข. การสร้างสมการเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของทฤษฏีสัมพัทธภาพ
                ค. ศึกษาโครงสร้างของกาแล็กซี ว่าประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก
                ง. การวัดการเลื่อนตำแหน่งของสเปคตรัมจากกาแล็กซีเทียบกับระยะห่างจากโลก

9. การเกิดระบบสุริยะมวลสารส่วนใหญ่จะกลายไปเป็นสิ่งใด
                ก. โลก
                ข. ดาวเคราะห์
                ค. ดวงอาทิตย์
                ง. ดาวเคราะห์น้อย

10. ข้อใด ไม่จัด เป็นดาวเคราะห์แบบโลก
                ก. ดาวพุธ
                ข. ดาวศุกร์
                ค. ดาวอังคาร
                ง. ดาวพฤหัสบดี

11. ดาวเคราะห์ชั้นนอกประกอบด้วยแก๊สหลักคืออะไร
                ก. ฮีเลียม และออกซิเจน
                ข. ฮีเลียม และไฮโดรเจน
                ค. ฮีเลียม และไนโตรเจน
                ง. ฮีเลียม และคาร์บอนไดออกไซด์

12. วัตถุที่มีขนาดใหญ่ในอวกาศเผาไหม้ไม่หมด จะเหลือชิ้นส่วนตกลงสู่ผิวโลก เรียกว่าอะไร
                ก. ดาวตก
                ข. ผีพุ่งไต้
                ค. อุกกาบาต
                ง. ดาวประหลาด
13. ดาวเคราะห์น้อยโคจรอยู่ระหว่างดาวเคราะห์ดวงใด
                ก. ดาวศุกร์กับโลก
                ข. ดาวอังคารกับโลก
                ค. ดาวพุธกับดาวศุกร์
                ง. ดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี

14. อนุภาคโปรตอน และอิเล็กตรอน ที่หลุดออกจากดวงอาทิตย์มาสู่โลก ทำให้เกิดสิ่งใด
                ก. ลมสุริยะ
                ข. คลื่นแม่เหล็ก
                ค. แสงเหนือ-แสงใต้
                ง. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

15. การเกิดจุดบนดวงอาทิตย์มากที่สุด ระยะห่างประมาณกี่ปี
                ก. 10 ปี
                ข. 11 ปี
                ค. 12 ปี
                ง. 13 ปี
16. ปัจจุบันทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับในการอธิบายการกำเนิดของเอกภพคือ ทฤษฏีข้อใด
                ก. กาลเวลา
                ข. สภาวะคงที่
                ค. การระเบิดครั้งใหญ่
                ง. การออสซิลเวลของเอกภพ

17. ผู้ที่ค้นพบอุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพคือข้อใด
                ก. เฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน
                ข. เลอแมทร์ และอาร์โน เพนเซียส
                ค. เอ็ดวิน พี ฮับเบิล และโธมัส โกลด์
                ง. อาร์โน เพนเซียส และโรเบิร์ต วิลสัน

18. ดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ มีธาตุใดเป็นสารเบื้องต้น
                ก. ออกซิเจนและฮีเลียม
                ข. ไฮโดรเจนและฮีเลียม
                ค. ไฮโดรเจนและไนโตรเจน
                ง. ออกซิเจนและไฮโดรเจน
19. ระบบสุริยะอยู่ในกาแล็กซีใด
                ก. ทางช้างเผือก
                ข. แอนโดรเมดา
                ค. แมกเจลแลนเล็ก
                ง. แมกเจลแลนใหญ่

20. องค์ประกอบที่สำคัญของกาแล็กซีคือข้อใด
                ก. ดาวฤกษ์ เนบิวลา
                ข. ดาวฤกษ์ กาแล็กซี
                ค. ดาวเคราะห์ เนบิวลา
                ง. ดาวเคราะห์ กาแล็กซี

21. ข้อความใดอธิบายความหมายของกาแล็กซีได้ถูกต้องที่สุด
                ก. เป็นกระจุกดาวคล้ายดาวแมงป่อง
                ข. เป็นแถบเรืองๆ สว่างขาวพาดไปบนท้องฟ้า
                ค. กลุ่มเมฆหมอกก้อนกลมมีลักษณะคล้ายจาน
                ง. ระบบของกลุ่มดาวต่างๆ รวมทั้งโลก ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และอุกกาบาต

22. กาแลกซีแมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็กมีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร
                ก. เป็นแบบรูปวงรีหรือก้นหอย
                ข. มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือไร้รูปทรง
                ค. มีรูปร่างคล้ายจาน 2 ใบคว่ำประกบกัน
                ง. มีรูปร่างกลมคล้ายผลส้มตรงกลางป่องออก

23. ข้อใดต่อไปนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด
                ก. เอกภพ
                ข. เนบิวลา
                ค. ระบบสุริยะ
                ง. กาแล็กซีทางช้างเผือก

24. ธาตุที่เป็นองค์ประกอบมากที่สุดของดาวฤกษ์คือธาตุใด
                ก. ธาตุคาร์บอน
                ข. ธาตุออกซิเจน
                ค. ธาตุไฮโดรเจน
                ง. ธาตุไนโตรเจน
25. ดาวเคราะห์ยักษ์ ได้แก่ข้อใด
                ก. โลก
                ข. ดาวเสาร์
                ค. ดาวยูเรนัส
                ง. ดาวพฤหัสบดี

26. ข้อใดไม่จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส
                ก. ดาวเสาร์
                ข. ดาวพลูโต
                ค. ดาวยูเรนัส
                ง. ดาวพฤหัสบดี

27. เศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์จะเป็นสิ่งใด
                ก. ดาวตก
                ข. ดาวหาง
                ค. อุกกาบาต
                ง. ดาวประหลาด

28. ดาวฤกษ์สว่างที่สุดบนทางช้างเผือก คือ
                ก. ดาวลูกไก่
                ข. ดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาววัว
                ค. ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
                ง. ดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน

29. ดาวเคราะห์น้อยเกิดจากเศษที่เหลือจากการสร้างเทหวัตถุใด
                ก. ดาวอังคาร
                ข. ดวงอาทิตย์
                ค. ดาวพฤหัสบดี
                ง. ดาวเคราะห์หิน

30. ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ เกิดขึ้นที่โครงสร้างชั้นใดของดวงอาทิตย์
                ก. ชั้นแผ่รังสี
                ข. ชั้นแก่นกลาง
                ค. ชั้นแก๊สหมุนวน
                ง. ชั้นพาความร้อน

31.  ข้อใดเป็นสมบัติของ ดาวเคราะห์ยักษ์ ของดวงอาทิตย์
                ก. มีความหนาแน่นสูงมาก
                ข. ประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่
                ค. มีแสงสว่างในตัวเอง
                ง. ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ยักษ์หรือดาวเคราะห์ชั้นนอกมีองค์ประกอบหลัก  เช่น  ไฮโดรเจนและฮีเลียม  จนบางครั้งก็เรียกว่า  ดาวเคราะห์แก๊ส

32.  ข้อใดจัดเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้งหมด
                ก. ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์
                ข. ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคารดาวยูเรนัส         
                ค. ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส      ดาวศุกร์
                ง. ดาวเนปจูน ดาวเสาร์      ดาวยูเรนัส
เหตุผล                          ดาวเคราะห์ชั้นนอกหรือดาวเคราะห์ยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน
                                        ส่วนดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร

33.  ข้อใดที่เกิดจากลมสุริยะ
        . การเกิดแสงออโรราแถบขั้วโลกเหนือและใต้     
        ข. วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียมไหม้
        ค. การติดต่อสื่อสารโดยเส้นใยนำแสงขัดข้อง         
        ง. เข็มทิศเบนไปมา
เหตุผล                          ลมสุริยะเกิดจากอนุภาคโปรตอน  และอิเล็กตรอนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และถ้าอนุภาคเหล่านี้ถูกปลดปล่อยมาจำนวนมากๆ  เรียกว่า  พายุสุริยะ  จะทำให้เกิดแสงออโรราบริเวณขั้วโลกเหนือ  และขั้วโลกใต้  เกิดการติดขัดทางการสื่อสาร  โดยวิทยุคลื่นสั้นทั่วโลก  วงจรอิเล็กตรอนในดาวเทียมเสียหาย

34.  ดาว A มีค่าอันดับความสว่าง 2 ในขณะที่ดาว B มีค่าอันดับความสว่าง 4 ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
        ก. ดาว A มีความสว่างมากกว่าดาว B   2 เท่า          
        ข. ดาว B มีความสว่างมากกว่าดาว A   2 เท่า
        . ดาว A มีความสว่างมากกว่าดาว B   6.3 เท่า      
        ง. ดาว B มีความสว่างมากกว่าดาว A 6.3 เท่า
เหตุผล                          ดาว  มีค่าอันดับความสว่าง  4  ดาว  มีค่าอันดับความสว่าง  2  ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีค่าอันดับความสว่างต่างกัน   =   4 2  เท่ากับ  2
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)2
                                                                                                                                        =             6.3          เท่า
                                        ดังนั้น  ดาว  A มีความสว่างมากกว่าดาว B   =             6.3          เท่า

35.  ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาหรือปรากฏการณ์ข้อใด
       ก. การรวมตัวของนิวเคลีย H เป็น He                       
        ข. การแตกตัวของนิวเคลียสใหญ่
        ค. การเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง                                        
        ง. การระเบิดอย่างต่อเนื่อง
เหตุผล                          ดวงอาทิตย์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชั่น  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสไฮโดรเจน  (H)  4 นิวเคลียสหลอมไปเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม (He) 1 นิวเคลียส พร้อมกับเกิดพลังงานจำนวนมหาศาล

36.  ข้อใดคือจุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ
        ก. เนบิวลา                                                                        ข.หลุมดำ
        ค. ดาวแคระดำ                                                                 ง.ดาวยักษ์แดง
เหตุผล                          จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆ  คือหลุมดำ  โดยเชื่อว่ามีการ เปลี่ยนแปลง  ดังนี้
                            ดาวฤกษ์ที่มวลมากๆ   ®   ดาวยักษ์แดง   ®   ซูเปอร์โนวา   ®   หลุมดำ

37.  ดาวฤกษ์ที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 4 จะมีความสว่างต่างกันประมาณกี่เท่า
        ก. 100   เท่า                                                                     2. 80   เท่า
        ค. 60   เท่า                                                                        ง. 40   เท่า
เหตุผล                          อันดับความสว่างต่างกัน  1  ความสว่างต่างกัน           =             2.5          เท่า
                                        อันดับความสว่างต่างกัน  4  ความสว่างต่างกัน           =             (2.5)4
                                                                                                      =          40        เท่า

38.  ปฏิกิริยาในข้อใดเกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์
        ก. ฟิวชัน                                                                           ข. ฟิชชัน
        ค. ซูเปอร์โนวา                                                                ง. ออโรรา
เหตุผล                          ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ที่ทำให้เกิดพลังงานมหาศาล  คือ  ปฏิกิริยาฟิวชั่น  โดยเกิดจากโปรตอนหรือนิวเคลียสของธาตุไฮโดรเจน  4  นิวเคลียสหลอมรวมเป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม  1  นิวเคลียส  และเกิดพลังงานอีกจำนวนมหาศาล

39.  ในระบบสุริยะ แถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในบริเวณใด
        ก. อยู่ระหว่างแถบดาวเคราะห์ชั้นในกับดาวเคราะห์ชั้นนอก
        ข. อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นในกับเขตของดาวหาง
        ค. อยู่ระหว่างดาวเคราะห์ชั้นนอกกับเขตของดาวหาง
        ง. อยู่แถบนอกสุดของระบบสุริยะ
เหตุผล                          ในระบบสุริยะแบ่งพื้นที่รอบดวงอาทิตย์  4  เขต  คือ
1.             เขตดาวเคราะห์ชั้นในหรือดาวเคราะห์หิน  ประกอบด้วยดาวพุธ  ,  โลก  และดาวอังคาร
2.             แถบดาวเคราะห์น้อย  ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี
3.             เขตดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือเรียกว่าดาวเคราะห์ยักษ์  เพราะมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน
4.             เขตนอกสุด  คือ  ดาวหาง

40.  ชนิดของสเปกตรัมในข้อใดที่แสดงว่าเป็นดาวฤกษ์สีขาว และอุณหภูมิของดาวที่ 10,000 8,000 เคลวิน
.    M                                                                                        .    G        
.    A                                                                                         .    O
เหตุผล                          แสดงสีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ชนิดต่างๆ

ชนิด
สีของดาว
อุณหภูมิผิว  (เคลวิน)
ตัวอย่างดาวฤกษ์

O
B
A
F
G
K
M


น้ำเงิน ขาว
ขาวน้ำเงิน
ขาว
เหลือง ขาว
เหลือง
ส้ม
ส้มแดง

35,000
25,000 12,000
10,000 8,000
7,500 6,000
6,000 4,200
5,000 3,000
3,200 3,000

ดาวเซตานายพรานในกลุ่มดาวนายพราน
ดาวอะเคอร์นาร์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
ดาวหางหงส์ในกลุ่มดาวหงส์
ดาวโปรซิออนในกลุ่มดาวสุนัขเล็ก
ดวงอาทิตย์
ดาวดวงแก้วในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์
ดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่อง











41. ดาวเคราะห์ใดต่อไปนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดวงอื่น
        ก. ดาวพฤหัสบดี                                                              ข. ดาวศุกร์
        ค. ดาวเสาร์                                                                       ง. ดาวเนปจูน
เหตุผล              ดาวเคราะห์วงในมี  4  ดวง  คือ  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  และ ดาวอังคาร  ส่วนดาวเคราะห์วงนอกมี  4  ดวง  คือ  ดาวพฤหัสบดี  ,  ดาวเสาร์  ,  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน  ดังนั้นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากสุดจะเรียงจากดาวเคราะห์  คือ  ดาวพุธ  และดาวศุกร์  ตามลำดับ  แต่ในข้อสอบไม่มีดาวพุธ

42. ดาวพฤหัสบดีมีองค์ประกอบหลักเป็นอะไร
        ก. เหล็ก                                                                             ข. ไฮโดรเจนและฮีเลียม
        ค. หิน                                                                                ง. แอมโมเนีย
เหตุผล                          ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ชั้นนอก  หรือดาวเคราะห์ยักษ์  เนื่องจากมีขนาดใหญ่  องค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน  และฮีเลียม  มีสภาพแวดล้อมเย็นกว่า

43. ตามวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ในช่วงท้ายที่สุดจะเป็นอะไร
        ก. ดาวแคระดำ                                                                 ข. ดาวแคระขาว
        ค. หลุมดำ                                                                         ง. ดาวนิวตรอน
เหตุผล                          วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะเกิดแรงโน้มถ่วงเนื่องจากมวลดวงอาทิตย์สูงกว่าแรงดัน  เพราะธาตุไฮโดรเจนเหลือน้อยส่งผลให้แกนกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม  100  ล้านองศาเคลวิน  และทำให้ดวงอาทิตย์ขยายใหญ่ขึ้นกว่า เดิมเป็น  100  เท่า  ผิวด้านนอกขยายตัวอุณหภูมิลดลง  สีจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงขนาดใหญ่  เรียกว่า  ดาวยักษ์แดง  และค่อยๆ  เป็นดาวแคระขาว  เพราะอุณหภูมิและความดันภายในลดลง  จนช่วงสุดท้ายกลายเป็นดาวแคระดำ

44. ตามหลักการจัดอันดับความสว่างของดาว ดาวในข้อใดมีความสว่างมากที่สุด
        ก. ดาว A มีอันดับความสว่าง 6                                    ข. ดาว B มีอันดับความสว่าง 1
        ค. ดาว C มีอันดับความสว่าง 0                                    ง. ดาว D มีอันดับความสว่าง -2
เหตุผล                          การจัดอันดับค่าความสว่างของดาว  ถ้าอันดับความสว่าง  6  เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างริบหรี่ที่สุด  ส่วนอันดับความสว่าง  1  และ  0  จะสว่างมากกว่าอันดับความสว่าง  6  ส่วนอันดับความสว่างเป็นลบ  (-)  จะยิ่งมีความสว่างมากขึ้น  เช่น  อันดับความสว่าง  -2  ก็คือดาวพฤหัสบดีสว่างมาก

45. คำว่า 1 ปีแสง หมายถึงอะไร
        . ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปี                                ข.   ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก
        ค. เวลาที่แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก                        ง.  หน่วยของเวลาแบบหนึ่ง
เหตุผล                          1 ปีแสง หมายถึง ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทางเป็นเวลา 1 ปี หรือมีค่าเท่ากับ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร

46. สิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวฤกษ์ทุกดวงเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นตามข้อใด
.    ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น                                                  ข.    การระเบิดซูเปอร์โนวา
.    การกลายสภาพเป็นดาวนิวตรอน                                 ง.    มวลสลายไปหมด
เหตุผล                          วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ  จะกลายเป็นหลุมดำ
                                        วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลปานกลาง  จะกลายเป็นดาวนิวตรอน
                                        วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย  จะกลายเป็นดาวแคระดำ

47. ดาวศุกร์เมื่อสว่างน้อยที่สุดมีความสว่าง -3.5 ดาวซีรีอุสมีอันดับความสว่าง -1.5 ดาวศุกร์มีความสว่างมากกว่าดาวซีรีอุสกี่เท่า
        ก. 2.5                                                                                 ข. 3.0
        ค. 6.25                                                                              ง. 15.6
เหตุผล                          ดาวศุกร์มีอันดับความสว่าง  -3.5  ดาวซีรีอุสอันดับความสว่าง  -1.5
                                        ดังนั้น  ดาวทั้งสองมีอันดับความสว่างต่างกัน     =     (-3.5) (-1.5)
                                                                                                                                =     2
                                        อันดับค่าความสว่างต่างกัน  1  ค่าความสว่างต่างกัน       =     (2.5)1   เท่า
                                                                                                                                             =     (2.5)2     เท่า
                                                                                                                                             =     6.25        เท่า

48. ในคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส เราสามารถมองเห็นแกแลกซีทางช้างเผือกซึ่งพาดผ่านเป็นแถบยาวขนาดความกว้าง 15 องศา ถ้าต้องการประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่ง ต้องใช้ข้อมูลจากข้อใดต่อไปนี้
       ก. ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น            ข. ความสว่างของดาวที่ขอบ
        ค. อัตราการหมุนของแกแลกซี                                            ง. ดัชนีหักเหของแสงในอวกาศ
เหตุผล                          ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง  และดวงอาทิตย์อยู่ห่างจุดกึ่งกลางของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก  30,000  ปีแสง  จึงทำให้รู้ระยะทางขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปยังขอบข้างหนึ่งได้  จึงสามารถประมาณเวลาที่แสงจากดาวที่ขอบข้างหนึ่งของกาแล็กซี่ทางช้างเผือกไปถึงอีกข้างหนึ่งได้

49. ปรากฏการณ์ใดที่สนับสนุน ทฤษฎีบิกแบง
        ก. การชนกันของดาวหางกับดาวเคราะห์                          ข. การขยายตัวของเอกภพ
        ค. การเกิดลมสุริยะ                                                                 ง. การยุบตัวของดาวฤกษ์
เหตุผล                          ปรากฏการณ์ที่สนับสนุน  ทฤษฎีบิกแบง มีด้วยกัน 2 อย่าง คือ
1.             การขายของเอกภพ  ซึ่งเป็นการศึกษาและค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน  ชื่อ  เอ็ดวิน  พี  ฮับเบิล
2.             อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพปัจจุบันลดลงเหลือ  2.73  องศาเคลวิน

50.  หลังเกิดบิกแบงปริมาณอนุภาคกับปริมาณปฏิอนุภาคควรเป็นตามข้อใด จึงเกิดกาแล็กซีและดาวต่าง ๆ  
        ขึ้นดังที่เป็นอยู่
        . มีปริมาณเท่ากัน                                                         ข.    อนุภาคมีปริมาณมากกว่า
        . ปฏิอนุภาคมีปริมาณมากกว่า                                   ง.    เป็นไปได้ทุกข้อ
เหตุผล                          ขณะที่เกิดบิกแบง  จะมีเนื้อสารที่เกิดในลักษณะอนุภาคพื้นฐาน  คือ  ควาร์ก  อิเล็กตรอน  นิวทริโอ  และโฟตอน  ซึ่งเป็นพลังงาน  โดยขณะที่เกิดอนุภาคก็จะเกิดปฏิ-อนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าตรงกันข้าม  หลังจากที่บิกแบงแล้วอนุภาคจะมีมากกว่าปฏิอนุภาค  นอกจากกลายเป็นพลังงานแล้วยังมีอนุภาคบางส่วนที่เหลือก่อกำเนิดเป็นสาร  ทำให้รวม ตัวเป็นกาแล็กซี่และดาวต่างๆ  ดังปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาณาจักรสุโขทัย

เจาะลึกโลกดาวเทียม